วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอยู่ค่ายพักแรม

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอยู่ค่ายพักแรม

การกางเต็นท์และการอยู่ค่ายพักแรมพิธีเปิดกอง     เข้าแถว  -  ชักธงขึ้น  -   สวนมนต์  -   สงบนิ่ง   -   ตรวจสุขภาพ   -   แยก 

การกางเต็นท์
                                    



เต็นท์หรือกระโจม  ใช้เป็นที่พักผ่อนนอนหลับ และเก็บสิ่งของของลูกเสือซึ่งมีอยู่อยู่ด้วยกันหลายชนิด  ทั้งที่นอนได้คนเดียว  นอนสองคน  หรือนอนหลายคน จะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามลักษณะการกาง เช่น  เต็นท์กระแบะ   เต็นท์ชาวค่าย  เต็นท์แบบหลังคาอกไก่  เต็นท์นักสำรวจ  เป็นต้น
การเลือกเต็นท์สำหรับอยู่ค่ายพักแรมนั้น   ควรเลือกที่มีน้ำหนักเบาสามารถที่จะนำไปคนเดียวได้ หรือหมู่ลูกเสือนำไปได้

การเลือกสถานที่กางเต็นท์1. พื้นที่โล่งมีหญ้าปกคลุมบางเล็กน้อย
2. พื้นที่ราบเรียบ  หรือลาดเอียงบ้างเล็กน้อย  ไม่ขุรขระหรือมีของแหลมคม
3. ไม่เป็นแอ่ง  หรือหุบเขาซึ่งเป็นที่น้ำท่วมถึงได้ง่าย 
4. อยู่ใกล้ แหล่งน้ำสะอาดและไม่มีสัตว์เดินผ่าน
5. ไม่อยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่  เพราะอาจถูกกิ่งไม้หล่นทับเมื่อมีพายุ
เต็นท์สำหรับเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม นิยมใช้เต็นท์เดี่ยว  เรียกว่ากระโจม 5 ชาย 
ส่วนประกอบของกระโจม 5 ชาย  
1. ผ้าเต็นท์สองผืน      2. เสาเต็นท์      3. เชือกดึงเสาหลักมีความยาวเส้นละ 3 เมตร         4. สมอบก  10  ตัว              
5.เชือกร้อยหูเต็นท์มีความยาว 1-1.5  ฟุต

วิธีกางเต็นท์
ก่อนกางเต็นท์เราต้องดูทิศทางลม  ถ้าเป็นฤดูหนาว  หรือฤดูฝนให้ทัน   ด้านหลังเต็นท์สู่ทิศทางลม  แต่ถ้เป็นฤดูร้อนให้หันหน้าเต็นท์สู่ทางลม  การกางเต็นท์  มีวิธีดังนี้
     1. ให้นำผ้าเต็นท์ทั้งสองผืน  ติดกระดุมเข้าด้วยกัน  (ด้านที่ติดกระดุมเป็นด้านสันหลังคา  ส่วนด้านที่มีรูตาไก่ด้านละ สามรู เป็นด้านชายด้านล่าง  ) จากนั้นนำเสาหนึ่งต้นมาเสียบที่รูหลังคาเต็นท์ ให้คนที่หนึ่งจับไว้
      2. ให้คนที่สองใช้เชือกยาว  1 เส้น ยึดจากหัวเสาไปยังสมอบกด้านหน้า  แล้วใช้เชือกสั้น2เส้น  ยึดชายเต็นท์ เข้ากับสมอบก  ให้เต็นท์กางออกเป็นรูปหน้าจั่ว
      3. ให้คนที่สองเดินอ้อมไปอีกด้านจากนั้นจึงเสียบเสาอีกต้นเข้ากับรูหลังคาเต็นท์  และจับเสาไว้แล้วจึงให้คนที่หนึ่ง นำเชือกเส้นยาวยึดจากเสาไปยังสมอบก
      4. ให้ทั้งสองคนช่วยกันใช้เชือกยึดชายเต็นท์  เมื่อกางเต็นท์เสร็จแล้ว เราต้องขุดร่องน้ำรอบเต็นท์ลึกประมาณ  16 เซนติเมตร  ให้ปลายรางน้ำหันไปทางพื้นที่ลาดต่ำ  แล้วนำดินที่ได้มากันไว้ข้างชายเต็นท์เพิ่อป้องกันน้ำซึมและสัตว์เลื้อยคลานเข้าไป

การเก็บรักษาเต็นท์และอุปกรณ์
      1. ระวังอย่าให้เต็นท์ฉีกขาด  หากขาดหรือมีรูต้องรีบปะชุนทันที
      2. ในเวาลกลางวัน  ถ้าอากาศดีต้องเปิดเต็นท์ให้โล่งเพื่อระบายอากาศ
      3. เวลาถอนสมอบกเก็บ  ให้ดึงกลับขึ้นมาจาแนวที่ตอกลงไป อย่างัด
      4. เมื่อเลิกใช้เต็นท์  ต้องพับเก็บให้เรียบร้อย  หากมีรอยสกปรกต้องรีบทำความสะอาดโดยใช้ผ้าชุบน้ำ หรือผงซักฟอกเช็ด  แล้วผึ่งแดดให้แห้ง

การอยู่ค่ายพักแรมการไปอยู่ค่ายพักแรมจะไปกันเป็นหมู่คณะโดยแต่ละกองก็จะมีผู้กำกับ  และรองผู้กำกับดูแลรับผิดชอบ  ดังนั้นเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสะดวก  ในแต่ละหมู่จึงต้องแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในลูกเสือหนึ่งหมู่
นายหมู่จะมีหน้าที่ควบคุมดูแลและรับผิดชอบในหมู่
รองนายหมู่จะมีหน้าที่ช่วยเหลือนายหมู่เวลานายหมู่ไม่อยู่
คนดูแลงานทั่วไปจะมีหน้าที่ทำงานเบ็ดเตล็ดทั่วๆไป
พลาธิการจะมีหน้าที่ดูแลเอาใจใส่อุปกรณ์ของหมู่
คนครัวจะมีหน้าที่ประกอบอาหารสำหรับทุกคนในหมู่
ผู้ช่วยคนครัวจะมีหน้าที่ช่วยเหลือการประกอบอาหาร  ทำครัว
คนหาน้ำจะมีหน้าที่จัดหาน้ำมาใช้ภายในหมู่ให้เพียงพอ
คนหาฟืนจะมีหน้าที่หาเศษไม้กิ่งไม้  มาทำฟืนสำหรับหุ้งต้ม

อาหารที่จะเตรียมไปค่ายพักแรมนั้น  ควรเป็นอาหารที่เก็บได้นาน  ปรุงได้ง่าย  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาหารแห้ง  เช่น ไข่เค็ม  กุนเชียง   อาหารกระป๋อง  และจะต้องมีพริก   เกลือ  น้ำตาล  เพื่อช่วยในการปรุงรสด้วย

ประโยชน์ของการอยู่ค่ายพักแรม 
1.  เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
2.  เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
3.  ได้ออกกำลังกาย  ทำให้ร่างกายแข็งแรง
4.  ได้ศึกษาประเพณีของท้องถิ่นต่างๆ
5.  ได้ศึกษาความเป็นไปของธรรมชาติ
6.  ได้ทดสอบความอดทน



การเดินทางไกล  คือการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปทางบก หรือทางน้ำ ซึ่งลูกเสือเป็นผู้จัดการเองโดยตลอด ทั้งนี้ด้วยความเห็นชอบของผู้กำกับลูกเสือ 
การอยู่ค่ายพักแรม คือ การเดินทางไปยังสถานที่แห่งหนึ่งแล้วไปตั้งค่ายพักแรมคืน ซึ่งอยู่ในการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้กำกับลูกเสือ
                                                     








ความมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนร.๑.เป็นกิจกรรมกลางแจ้งที่สำคัญที่สุด
๑.เพื่อฝึกความอดทน ความมีระเบียบวินัยและเสริมสร้างสุขภาพ  อนามัยให้แก่ลูกเสือ
๒.  เพื่อให้ลูกเสือมีเจตนารมณ์ และเจตคติที่ดี รู้จักช่วยตนเองและรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น
๓. เพื่อให้มีโอกาสปฏิบัติตามคติพจน์ของลูกเสือ และมีโอกาสบริการต่อชุมชนที่ไปอยู่ค่ายพักแรม
๔. เพื่อเป็นการฝึกและปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ

๒.เป็นการทดสอบความรู้และทักษะของลูกเสือ
๓.เป็นการฝึกความอดทน ผสมผสานกับการเรียนรู้ในวิชาการต่างๆเพิ่มเติม เช่นระบบหมู่,ภาวะผู้นำ การช่วยเหลือตนเอง และสอบวิชาพิเศษลูกเสือได้อีกทางหนึ่งด้วย
๔.เป็นกิจกรรมบังคับสำหรับลูกเสือ ตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ข้อ ๒๗๓  “ให้ผู้กำกับกลุ่มผู้กำกับลูกเสือ นำลูกเสือไปฝึกเดินทางไกลและพักแรมคืน ในปีหนึ่งไม่น้อยกว่า ๑ ครั้ง  และครั้งหนึ่งให้พักแรมอย่างน้อย ๑ คืน”
                                                    
                                           

                                                


ประโยชน์
๑.เป็นการฝึกความอดทน ความมีระเบียบวินัย
๒.เป็นการเสริมสร้างพลานามัยให้แข็งแรง
๓.เพื่อสนองความต้องการของลูกเสือในด้านการผจญภัยและกิจกรรมกลางแจ้งเพื่อเรียนวิชาเพิ่มเติม ทดสอบวิชาและทักษะที่เรียนมาแล้ว และทดสอบวิชาพิเศษลูกเสือ




วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

วีดิโอที่ชื่นชอบ


เพลงช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย





เพลงอย่าให้ความหวังทั้งๆที่เป็นไปไม่ได้





เพลงไม่กล้าบอกชัด






เพลงไม่บอกเธอ





เพลงอธิบายไม่ถูกแต่รู้สึกดี